Search
Close this search box.
Search
Close this search box.

TMAN ผู้ปลุกปั้นสเปรย์ แบรนด์ “โพรโพลิซ” กำลังก้าวเข้าสู่ตลาดทุนไทย

/
TMAN ผู้ปลุกปั้นสเปรย์ แบรนด์ “โพรโพลิซ” กำลังก้าวเข้าสู่ตลาดทุนไทย

TMAN ผู้ปลุกปั้นสเปรย์ แบรนด์ “โพรโพลิซ” กำลังก้าวเข้าสู่ตลาดทุนไทย

ในช่วงที่ผ่านมา ได้มีผู้ประกอบกิจการทั้งรายเล็กและรายใหญ่ได้ตบเท้าเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อหาแหล่งเงินทุนรับรองการขยายธุรกิจไปจนถึงโอกาสทางธุรกิจรูปแบบใหม่ ซึ่งในเร็วๆ นี้ ธุรกิจเวชภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพอย่าง บริษัท ที.แมน ฟาร์มาซูติคอล จำกัด (มหาชน) หรือ TMAN ก็เตรียมตัวที่จะเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ด้วยเช่นกัน

ฉะนั้น ทาง Wealthy Thai จึงอยากจะพาผู้อ่านและนักลงทุนทำความรู้จักธุรกิจของ TMAN พร้อมกับเล่าสู่กันฟังถึงจุดเริ่มต้นของบริษัท สู่การเป็นผู้นำด้านธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายเวชภัณฑ์ยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพของประเทศไทย

ใครที่อาจจะยังสงสัยว่า TMAN เป็นใครนั้น เราอยากจะขอยกตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่หลายๆ คนอาจจะคุ้นหูคุ้นตาเป็นอย่างดีในร้านสะดวกซื้อและร้านขายยาอย่าง  สเปรย์พ่นคอบรรเทาอาการเจ็บคอ ‘Propoliz Plus Extherb’ และ ยาแก้ไอ ‘ไอยรา’ ซึ่งมีกลุ่มครอบครัวฐานะโชติพันธ์ นำโดย 2 หัวเรือใหญ่ก็คือ นายธีรวัฒน์ ฐานะโชติพันธ์ และ ภญ. คำนวณ คงศุภลักษณ์ เป็นผู้ก่อตั้ง

โดยบริษัทก็ได้ดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมยามามากกว่า 50 ปี ภายใต้วิสัยทัศน์ “มุ่งมั่นขับเคลื่อนนวัตกรรมสุขภาพ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน” และในปัจจุบันผู้ที่รับไม้ต่อในการดำเนินธุรกิจ ได้แก่ทายาทรุ่นต่อไป ภายใต้การบริหารงานของทีมผู้บริหารปัจจุบัน นำโดยคุณประพล ฐานะโชติพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

สำหรับธุรกิจของกลุ่มบริษัทในปัจจุบันสามารถแบ่งเป็น 3 ธุรกิจ ประกอบด้วย

1. ผลิต และ/หรือจัดจำหน่ายเวชภัณฑ์ยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพภายใต้แบรนด์ของกลุ่มบริษัทฯ

2. รับจ้างผลิตเวชภัณฑ์ยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพภายใต้แบรนด์ของบุคคลอื่น

3. จัดจำหน่ายเวชภัณฑ์ยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพภายใต้แบรนด์ของบุคคลภายนอก

ด้าน ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มบริษัทฯ แบ่งเป็น 4 กลุ่มผลิตภัณฑ์  ได้แก่

1. ยาแผนปัจจุบัน แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ยาสามัญ (Generic drugs) และยาสามัญใหม่ (New generic drugs)

2. ผลิตภัณฑ์สมุนไพร

3. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอาง

4. อุปกรณ์และวัสดุทางการแพทย์และสินค้าอุปโภคบริโภคอื่นๆ

แต่อย่างไรก็ดี นอกจากความแน่วแน่ในการดำเนินธุรกิจภายใต้วิสัยทัศน์ที่กล่าว บริษัทยังมีจุดเด่นซึ่งเป็นข้อได้เปรียบในการแข่งขันของกลุ่มบริษัทฯ ได้แก่

1. เป็นผู้นำในธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายเวชภัณฑ์ยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ โดยมีเครือข่ายลูกค้า ทั้งกลุ่มลูกค้าองค์กรและกลุ่มลูกค้าบุคคลครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศไทยและอีกกว่า 22 ประเทศทั่วโลก โดยในปี 2566 กลุ่มบริษัทฯ จำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้แก่ลูกค้ากว่า 10,000 ราย

2. เป็นเจ้าของแบรนด์ และผู้จัดจำหน่ายเวชภัณฑ์ยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพภายใต้แบรนด์ที่หลากหลาย โดย ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2567 บริษัทมีแบรนด์ผลิตภัณฑ์ 226 แบรนด์ และนำเข้าหรือจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ของบุคคลภายนอก 16 แบรนด์ มีผลิตภัณฑ์กว่า 842 SKUs

3. โรงงานผลิตทั้ง 2 โรงของ TMAN ได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิตระดับสากล ได้แก่ มาตรฐานการผลิตที่ดี GMP PIC/S และมาตรฐานการกระจายสินค้าที่ดี GDP PIC/S ทั้งสำหรับยาแผนปัจจุบัน และสำหรับยาแผนโบราณ/ผลิตภัณฑ์สมุนไพร รวมถึงได้รับการรับรองมาตรฐานจัดการคุณภาพ ISO 9000:2007, ISO IEC, GHPs, HACCP, ISO 2000 และ ISO : 2271 และอื่นๆ ซึ่งเป็นมาตรฐานระดับสากลและได้รับการยอมรับในอุตสาหกรรมเวชภัณฑ์ยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ

มีหน่วยงานวิจัยและพัฒนาภายใต้กลุ่มบริษัทฯ และมีการร่วมมือกับสถาบันวิจัยและสถาบันการศึกษาชั้นนำและหน่วยงานพันธมิตรระดับประเทศ เพื่อสนับสนุนการคิดค้นนวัตกรรมใหม่เพื่อสุขภาพ

ทีมผู้บริหารและบุคลากรมีความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในธุรกิจผลิต และ/หรือจัดจำหน่ายเวชภัณฑ์ยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพอย่างยาวนาน

จากจุดเด่นทั้ง 5 ข้อ ก็ได้ทำให้ผลประกอบการเป็นที่น่าพอใจ ดังนี้

ปี 2564 รายได้จากการขาย 1,259.9 ล้านบาท มีอัตรากำไรสุทธิ 4.5%

ปี 2565 รายได้จากการขาย 2,016.6 ล้านบาท มีอัตรากำไรสุทธิ 23.3%

ปี 2566 รายได้จากการขาย 1,972.2 ล้านบาท มีอัตรากำไรสุทธิ 21.8%

6 เดือนแรก ปี 2567 (เดือนม.ค.-มิ.ย. 67) รายได้จากการขาย 1,105.2 ล้านบาท กำไรสุทธิ 238.4 ล้านบาท มีอัตรากำไรสุทธิ 21.5%

นอกเหนือจากจุดเด่นที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว บริษัทยังมีการบริหารจัดการคลังสินค้าและกระจายสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ ล่าสุดได้ขยายพื้นที่คลังสินค้าเพิ่มเติมเพื่อรองรับการเติบโตในอนาคต โดยบริษัทฯ ดำเนินการโครงการก่อสร้างคลังสินค้าและอาคารสำนักงานของบริษัท เฮเว่น เฮิร์บ จำกัด เรียบร้อยแล้วในเดือนกรกฎาคม 2567

ทั้งนี้ เพื่อขยายการเติบโตในอนาคต บริษัทได้เตรียมเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 102,000,000 หุ้น คิดเป็นไม่เกิน 25.5% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัท ภายหลังการออกและเสนอขายหุ้นสามัญในครั้งนี้ แบ่งเป็น

1. หุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 71,430,000 หุ้น และ

2. หุ้นสามัญโดยผู้ถือหุ้นเดิมจำนวนไม่เกิน 30,570,000 หุ้น

สำหรับวัตถุประสงค์ของการเข้าระดมทุนในครั้งนี้ บริษัทจะแบ่งเงินดังกล่าวเป็น 2 ส่วน ประกอบไปด้วย 1. ใช้เป็นเงินทุนในการขยายกำลังการผลิต และ/หรือปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต หรือการขยายธุรกิจของกลุ่มบริษัทฯ ในอุตสาหกรรมยาและนวัตกรรมเพื่อสุขภาพ และ 2. ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ และเพื่อชำระคืนเงินกู้ยืม

โดย TMAN ได้ประกาศราคาเสนอขาย IPO หุ้นละ 16.30 บาท เปิดจองซื้อวันที่ 10-11 และ 15 ต.ค. 67  และคาดว่าจะนำหุ้นเข้าซื้อขายวันแรกในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ในเดือนตุลาคมนี้

#Tman#TmanPharmaceutical #ทีแมน#ทีแมนฟาร์มาซูติคอล

อัลบั้มรูปภาพ