นโยบายการป้องกันการใช้ข้อมูลภายในและการจัดการข้อมูลที่มีผลต่อราคาหลักทรัพย์
นโยบายการป้องกันการใช้ข้อมูลภายใน และการจัดการข้อมูลที่มีผลต่อราคาหลักทรัพย์
บริษัท ที.แมน ฟาร์มาซูติคอล จำกัด (มหาชน)
วัตถุประสงค์
บริษัท ที.แมน ฟาร์มาซูติคอล จำกัด (มหาชน) (“บริษัท”) และบริษัทย่อยดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใสและตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องการใช้ข้อมูลภายใน โดยบริษัทมีนโยบายห้ามมิให้กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และลูกจ้างของบริษัทและบริษัทย่อย นำความลับ และ/หรือ ข้อมูลภายในของบริษัทและบริษัทย่อยที่ยังไม่เปิดเผยต่อสาธารณชนไปเปิดเผยหรือแสวงหาประโยชน์แก่ตนเองหรือผู้อื่นไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม และไม่ว่าจะได้รับผลตอบแทนหรือไม่ก็ตาม รวมทั้งต้องไม่ทำการซื้อขายหลักทรัพย์หรือเข้าผูกพันตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์ของบริษัทโดยใช้ข้อมูลภายใน
เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (รวมทั้งที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม) (“พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ”) รวมถึงประกาศ ระเบียบ และ/หรือกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง บริษัทได้กำหนดนโยบายการป้องกันการใช้ข้อมูลภายใน และการจัดการข้อมูลที่มีผลต่อราคาหลักทรัพย์ ดังนี้
ขอบเขตนโยบาย
1. ห้ามมิให้กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และลูกจ้างของบริษัทและบริษัทย่อย ซึ่งรู้หรือครอบครองข้อมูลภายใน และ/หรืออยู่ในตำแหน่งหรือสายงานที่รับผิดชอบข้อมูลภายใน หรือที่สามารถเข้าถึงข้อมูลภายใน
(ก) ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ของบริษัท หรือเข้าผูกพันตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์ของบริษัท ไม่ว่าเพื่อตนเองหรือบุคคลอื่น เว้นแต่จะเป็นไปตามมาตรา 242 ของ พ.ร.บ. หลักทรัพย์[1] และ
(ข) เปิดเผยข้อมูลภายในแก่บุคคลอื่น ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ไม่ว่าด้วยวิธีใด โดยรู้หรือควรรู้ว่าผู้รับข้อมูลอาจนำข้อมูลนั้นไปใช้ประโยชน์ในการซื้อ ขาย โอน หรือรับโอนหลักทรัพย์ของบริษัท หรือเข้าผูกพันตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์ของบริษัท ไม่ว่าเพื่อตนเองหรือบุคคลอื่น
ทั้งนี้ คำว่า “ข้อมูลภายใน” หมายถึง ข้อมูลที่ยังมิได้มีการเปิดเผยต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ซึ่งเป็นสาระสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงราคาหรือมูลค่าของหลักทรัพย์ของบริษัท เป็นต้นว่า ข้อมูลของบริษัทที่น่าจะมีนัยสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงราคา หรือมูลค่าของหลักทรัพย์ หรือการตัดสินใจลงทุน ข้อมูลดังกล่าวรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียงข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท บริษัทย่อย ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอำนาจควบคุม หรือผู้บริหารสำคัญของบริษัท และเป็นข้อมูลที่มีความชัดเจนพอสมควรที่ผู้ลงทุนทั่วไปสามารถใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน
2. บริษัทจะจัดอบรมให้ความรู้แก่กรรมการและผู้บริหาร รวมถึงผู้ดำรงตำแหน่งระดับบริหารในสายงานบัญชีหรือการเงินที่เป็นระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไปหรือเทียบเท่าของบริษัท รวมถึงกรรมการและผู้บริหารที่เข้ารับตำแหน่งใหม่ เกี่ยวกับหน้าที่ในการจัดทำและเปิดเผยรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือและการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของบริษัท โดยตนเอง คู่สมรสหรือผู้ที่อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ และนิติบุคคลที่ตนเอง คู่สมรสหรือผู้ที่อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะถือหุ้นรวมกันเกินร้อยละ 30 ของจำนวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของนิติบุคคลดังกล่าวและมีสัดส่วนการถือหุ้นมากที่สุดในนิติบุคคลนั้น ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (“สำนักงาน ก.ล.ต.”) ตามมาตรา 59 และบทกำหนดโทษตามมาตรา 275 แห่ง พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ และ ประกาศสำนักงานก.ล.ต. ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการรายงานการได้มาหรือจำหน่ายหลักทรัพย์ของบริษัท โดยตนเอง คู่สมรสหรือผู้ที่อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ และนิติบุคคลที่มีลักษณะดังกล่าวข้างต้นต่อสำนักงาน ก.ล.ต. ตามมาตรา 246 และบทกำหนดโทษตามมาตรา 298 แห่ง พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ และประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ การยื่นรายงานดังกล่าว กรรมการ ผู้บริหาร และผู้ดำรงตำแหน่งระดับบริหารในสายงานบัญชีหรือการเงินที่เป็นระดับผู้จัดการฝ่ายหรือเทียบเท่าของบริษัท อาจนำส่งรายงานผ่านทางเลขานุการของบริษัทได้
3. กําหนดให้กรรมการและผู้บริหาร รวมถึงผู้ดำรงตำแหน่งระดับบริหารในสายงานบัญชีหรือการเงินที่เป็นระดับเทียบเท่าผู้จัดการฝ่ายขึ้นไปหรือเทียบเท่าของบริษัท รวมถึงคู่สมรสหรือผู้ที่อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ รวมทั้งนิติบุคคลซึ่งตนเอง คู่สมรสหรือผู้ที่อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะถือหุ้นรวมกันเกินร้อยละ 30 ของจำนวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของนิติบุคคลดังกล่าวและมีสัดส่วนการถือหุ้นมากที่สุดในนิติบุคคลนั้น จัดทําและเปิดเผยรายงานการถือครองหลักทรัพย์และรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือครองหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของบริษัท ต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตามมาตรา 59 และบทกําหนดโทษ ตามมาตรา 275 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (รวมทั้งที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม) และจัดส่งรายงานดังกล่าว มายังเลขานุการบริษัท ก่อนนําส่งสํานักงาน ก.ล.ต. ทุกครั้ง ทั้งนี้ ให้จัดทําและนําส่งรายงานการถือครองหลักทรัพย์ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งเป็นกรรมการ ผู้บริหาร รวมทั้ง จัดทําและนําส่งรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือครองหลักทรัพย์ภายใน 7 วันทำการนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ และ/หรือ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าของบริษัทครั้งแรก หรือ ภายใน 3 วันทําการนับแต่วันที่มี การซื้อ ขาย โอน หรือรับโอนหลักทรัพย์นั้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนและสำนักงาน ก.ล.ต. กำหนด
4. เมื่อบริษัทนำหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแล้ว กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และลูกจ้างของบริษัท และบริษัทย่อย ซึ่งรวมถึงบุคคลที่ถูกสันนิษฐานว่ารู้หรือครอบครองข้อมูลภายในตามพ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ที่ได้รับทราบข้อมูลภายในที่เป็นสาระสำคัญซึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาของหลักทรัพย์ที่ได้รับทราบข้อมูลภายในที่เป็นสาระสำคัญ ซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงราคาหลักทรัพย์ของบริษัทต้อง
(ก) ระงับการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ของบริษัท ไม่ว่าเพื่อตนเองหรือบุคคลอื่น และ
(ข) ไม่เปิดเผยข้อมูลทางการเงินแก่บุคคลอื่น ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
ทั้งนี้ ในช่วงเวลาก่อนที่จะเผยแพร่งบการเงินรายปี หรือรายไตรมาส เป็นเวลาอย่างน้อย 30 วัน ก่อนที่บริษัทจะได้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และควรรออย่างน้อย 24 ชั่วโมง ภายหลังการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวก่อนทำการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ของบริษัท ทั้งนี้ ในกรณีที่การเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวยังไม่เป็นที่แพร่หลายหรือเป็นข้อมูลที่มีความซับซ้อนมาก ควรรอถึง 48 ชั่วโมงภายหลังจากการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่สาธารณชนทราบแล้วก่อนที่จะซื้อหรือขายหุ้นของบริษัท รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลภายในต้องไม่เปิดเผยข้อมูลนั้นให้ผู้อื่นทราบจนกว่าจะได้มีการแจ้งข้อมูลนั้นให้แก่ตลาดหลักทรัพย์ฯ
5. หากคู่ค้าของบริษัทและบริษัทย่อยเป็นบริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และการเข้าทำธุรกรรมกับคู่ค้าดังกล่าวอาจถือเป็นข้อมูลภายในของคู่ค้า ในการนี้ กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และลูกจ้างของบริษัท และบริษัทย่อย มีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลภายในของคู่ค้าดังกล่าวในทำนองเดียวกันกับข้อมูลภายในของบริษัทตามข้อ 1 ข้างต้น
6. ในกรณีที่บริษัทมีข้อมูลภายในซึ่งอยู่ในช่วงเวลาที่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ ด้วยเหตุที่ยังไม่อาจสรุปผลได้หรือมีความไม่แน่นอนสูง กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และลูกจ้างของบริษัทและบริษัทย่อย ที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่ดูแล จัดการรักษาความลับของข้อมูลดังกล่าว เพื่อป้องกันมิให้ผู้ใดนำไปแสวงหาประโยชน์ หรือเปิดเผยโดยมิชอบ โดยบุคคลดังกล่าวควรปฏิบัติตาม “แนวปฏิบัติในการจัดการข้อมูลลับที่มีผลต่อราคาหลักทรัพย์” ซึ่งจัดทำโดยสำนักงาน ก.ล.ต. รายละเอียดปรากฏตาม เอกสารแนบ 1 โดยสาระสำคัญของ แนวปฏิบัติในการจัดการข้อมูลลับที่มีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ มีดังนี้
(ก) บริษัทควรจัดให้มีระบบควบคุมภายในเพื่อป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลลับ
(ข) บริษัทควรเก็บรักษารายชื่อบุคคลวงในที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรม ที่อาจมีผลกระทบต่อราคาซื้อขายหลักทรัพย์และยังไม่ได้เปิดเผยข้อมูล ดังกล่าวต่อตลาดหลักทรัพย์ (“ธุรกรรมลับ”)
(ค) บริษัทควรดำเนินการให้มั่นใจได้ว่ากรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมลับตระหนักถึงหน้าที่ของตน ในการปฏิบัติต่อข้อมูลลับ
(ง) การเปิดเผยข้อมูลภายในต่อสาธารณะรวมถึงการสื่อสารข้อมูลใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลภายในต้องได้รับความเห็นชอบจากประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือผู้รับผิดชอบสูงสุดสายงานบัญชีและการเงิน หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น
(จ) ในกรณีที่การทำธุรกรรมลับนั้น จำเป็นต้องทดสอบความต้องการของตลาด (sounding the market) เช่น การเพิ่มทุน การเสนอซื้อหลักทรัพย์ บริษัทควรเข้าใจกระบวนการและวางแผน และดูแลให้มีการเปิดเผยข้อมูล อย่างเพียงพอ และป้องกันการใช้ข้อมูลลับ
นอกจากนี้ ในกรณีจำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลภายในแก่ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องซึ่งมีบทบาทในการดำเนินการที่จำเป็นให้แก่บริษัทและบริษัทย่อย เช่น ที่ปรึกษากฎหมายที่ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาการทำธุรกรรม หรือสถาบันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (CRA) เป็นต้น กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และลูกจ้างของบริษัท และบริษัทย่อยที่เกี่ยวข้อง ต้องดำเนินการให้มั่นใจว่าผู้รับข้อมูลทราบถึงหน้าที่และมีระบบในการรักษาความลับของข้อมูลเพื่อป้องกันการนำข้อมูลนั้นไปใช้ หรือเปิดเผยต่อบุคคลอื่น ทั้งนี้ ให้นำ “แนวปฏิบัติในการจัดการข้อมูลลับที่มีผลต่อราคาหลักทรัพย์” ซึ่งจัดทำโดยสำนักงาน ก.ล.ต. รายละเอียดปรากฏตาม เอกสารแนบ 1 มาใช้
บริษัทจะดำเนินการจัดให้มีการอบรมเรื่องนโยบายป้องกันการใช้ข้อมูลภายในและการจัดการข้อมูลที่มีผลต่อราคาหลักทรัพย์ แก่กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และลูกจ้างของบริษัทและบริษัทย่อย ที่เกี่ยวข้องปีละครั้ง เพื่อทบทวนความเข้าใจ และเพื่อให้มีการปฏิบัติให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ รวมถึงประกาศ ระเบียบ และ/หรือกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
7. ในกรณีที่บริษัทถือหุ้นหรือหลักทรัพย์อื่นใดในบริษัทอื่น ๆ ที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยนั้น จะต้องไม่ปรากฏว่ากรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน ลูกจ้างของบริษัท และ/หรือบุคคลอื่นใดที่เกี่ยวข้องหรือมีส่วนร่วมในการตัดสินใจลงทุนในหุ้นหรือหลักทรัพย์อื่นใดของบริษัทจดทะเบียนดังกล่าวไปดำเนินการใด ๆ ที่อาจส่งผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในราคาหุ้นหรือหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนนั้น ๆ อย่างมีนัยสำคัญ หรืออาจทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจผิดเกี่ยวกับราคาหรือปริมาณการซื้อขายหุ้นหรือหลักทรัพย์
นั้น ๆ อย่างเด็ดขาด
8. หากบริษัทพบว่ากรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และลูกจ้างของบริษัทและบริษัทย่อย ที่เกี่ยวข้องรายใดฝ่าฝืนนโยบายการป้องกันการใช้ข้อมูลภายในและการจัดการข้อมูลที่มีผลต่อราคาหลักทรัพย์ฉบับนี้ บริษัทจะพิจารณาลงโทษทางวินัยตามระเบียบข้อบังคับที่บริษัทกำหนดไว้ โดยพิจารณาจากเจตนาของการกระทำและความร้ายแรงของความผิดนั้น ๆ
เอกสารแนบ1
แนวปฏิบัติในการเปิดเผยและรักษาข้อมูลที่มีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์
เพื่อให้มั่นใจว่า บริษัทจตทะเบียนจะเปิดเผยข้อมูลแค่บุคคลทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกัน และมีการดูแลข้อมูลที่มีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ที่ยังไม่สามารถเปิดเผยไต้ (“ข้อมูลภายใน” หรือ non-public pricesensitive information) เป็นอย่างดี สำนักงานจึงขอชักซ้อมแนวปฏิบัติในการจัดการข้อมูลภายใน เพื่อให้คณะกรรมการ ผู้บริหาร และผู้เกี่ยวข้องในฐานะผู้รับผิดชอบการดำเนินงานของบริษัทให้เป็นไปตามกฎหมายนำไปดูแลให้เกิดการปฏิบัติในบริษัท เพราะหากไม่มีมาตรการในการดูแลเป็นอย่างดี หรือมีการนำข้อมูลนั้นไปเปิดผยแก่บุคคลเฉพาะกลุ่มก่อนการเปิดเผยแก่ผู้ลงทุนทั่วไป อาจทำให้เกิดการไต้เปรียบ และนำไปสู่การกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ อันเป็นความผิตตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาตหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 (“พระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ”) ซึ่งมีฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติมครั้งลำสุด โตยมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2559 ตังนี้
1. หลักการทั่วไป
บริษัทจดทะเบียนมีหน้าที่เปิดเผยข้อมูลที่มีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีนัยสำคัญต่อการตัตสินใจของผู้ลงทุนในทันทีที่สามารถทำได้ โตยเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้อง มีรายละเอียดเพียงพอ ในเวลาที่เหมาะสมตามแนวทางในข้อ 2 เพื่อให้บุคคลทุกกลุ่มเข้าถึงข้อมูลไต้อย่างเท่าเทียมกัน และในกรณีข้อมูลตังกล่าวอยู่ในช่วงเวลาที่ยังไม่สามารถปิดเผยไต้ ต้องมีระบบในการดูแลรักษาข้อมูลนั้นให้จำกัดเฉพาะบุคคลที่จำเป็น
2. แนวทางสำหรับบริษัทจดทะเบียนในการเปิดเผยข้อมูลภายใน
การเปิดเผยผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ
บริษัทจตทะเบียนจะต้องปฏิบัติตามคฎเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ในการเปิดเผยข้อมูลที่มีนัยสำคัญต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุนผ่นตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อให้ผู้ลงทุนทุกกลุ่มเข้าถึงข้อมูลต้อย่างเท่าเทียมกัน และในกรณีที่อยู่ในช่วงเวลาที่ยังไม่สามารถเปิดผไต้ ต้องมีระบบในการดูแลรักษาข้อมูลนั้นให้จำกัดเฉพาะบุคคลที่จำเป็น
การเปิดเผยผ่านเว็บไซต์ของตนเอง
บริษัทจตทะเบียนอาจเป็ดผยข้อมูลภายในและข้อมูลอื่นผ่านเว็บไชต์ของตนเองเป็นการเพิ่มเติมจากการเปิดผยผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ ด้ โตยในการดำเนินการตังกล่าว บริษัทจตทะเบียนมีหน้าที่ในการพิจารณาว่า เว็บไซต์ของตนเองมีลักษณะเป็นไปตามเงื่อนไขที่คำหนดหรือไม่ และเพื่อมีให้บริษัทจตทะเบียนฝ่าฝืนการปฏิบัติตามกฎเภณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเผยสารสนเทศ ก่อนการเปิดเผยข้อมูล บริษัทจดทะเบียนควรพิจารณาว่า ซ้อมูลตังกล่าวเข้าข่ายที่จะต้องเปิดผยผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือไม่ และในกรณีที่จะต้องเปิดผยผ่านตลาตหลักทรัพย์ฯ บริษัทจตทะเบียนมีหน้าที่นำข้อมูลตังกล่าวเปิดเผยผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ ก่อนหรือพร้อมกันกับการเปิดเผยผ่านเว็บไซค์ของตนเอง
ในการเปิดเผยข้อมูลตังกล่าวผ่านเว็บไซค์ บริษัทจดทะเบียนต้องปฏิบัติตังต่อไปนี้ทกประการ
(1) แจ้งนโยบายการเปิดเผยข้อมูลให้ผู้ลงทุนทราบส่วงหน้าเป็นการทั่วไปว่าจะเปิดเผยข้อมูลภายในผ่านเว็บไชต์ของบริษัท และปฏิบัติตามนโยบายการเปิดเผยข้อมูลนั้นอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เช่น เปิดเผยนโยบายนั้นผ่านตลาตหลักทรัพย์ฯ ในแบบ 56-1 และแบบ 56-2 ของทุกปี หรือในหน้าแรกของเว็บไชด์ของบริษัทจดทะเบียน รวมทั้งเปิดเผยผ่านสื่ออื่นใดที่บริษัจดทะเบียนใช้สื่อสารกับผู้ลงทุนเป็นการทั่วไป เป็นต้น
(2) ต้องตำเนินการให้การเปิดเผยข้อมูลผ่านเว็บไชต์ของบริษัทจตทะเบียนเป็นไปตามเงื่อนไขทุกข้อตังต่อไปนี้ (บริษัทจตทะเบียนตำเนินการเอง โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากสำนักงาน)
– ข้อมูลเปิดเผยไว้ในลักษณะที่เปิดอ่านได้โดยสะดวก เช่น มีหัวข้อที่ชัดเจนในหน้าแรกของเว็บไชต์ และเมื่อเข้าไปดูข้อมูลในหัวข้อตังกล่าว ก็สามารถเห็นไต้โตยง่าย และต้องเปิดเผยข้อมูลนั้นไว้อย่างน้อย 1 ปี ทั้งนี้ ข้อมูลที่เปิดเผยอย่างน้อยต้องแสตงเป็นภาษาไทย
– บุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงและเปิดอ่านข้อมูลได้ในเวลาเดียวกัน โดยไม่ต้องสมัครสมาชิก หรือขอ user name/password เพื่อการเข้าดูข้อมูล
– เปิดเผยข้อมูลผ่านช่องทางอื่นพร้อมกับการเปิดเผยผ่านเว็บไชต์ของบริษัทจตทะเบียน เช่น มีระบบแจ้งเตือน และ/หรือส่งข้อมูลไปยังบุคคลทั่วไปที่สามารถสมัครขอรับบริการเมื่อมีการเปิดเผยข้อมูลภายในซึ่งอาจส่งผ่าน text message LINE application email หรือช่องทางอื่น 1 ช่องทางไตช่องทางหนึ่งหรือหลายซ่องทางก็ได้
– ไม่เปิดผยข้อมูลภายในระหว่างเวลา 9.00 – 1230 น. และ 13.30 – 17.00 น. เพื่อให้บุคคลทั่วไปมีเวลาในการรับทราบและศึกษาข้อมูลนั้นพอสมควรก่อนตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเปิดทำการซื้อขายในแต่ละรอบ และ
– มีระบบที่มีความปลอดภัยเพียงพอในการบันทึกการนำเข้า แก้ไข และเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่เปิดผยไว้ผ่านเว็บไชต์ โดยบริษัทจตทะเบียนต้องมอบหมายบุคคลที่มีหน้าที่ในการจัดการข้อมูลตังกล่าว และต้องป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องนำเข้าหรือแก้ไขข้อมูลที่มีการเปิดผยไว้แล้ว รวมทั้งบันทึกการเปิดเผยข้อมูลผ่านช่องทางอื่นที่ทำพร้อมกับเว็บไชค์ (เช่น ข้อมูลที่ส่งแจ้งเตือนการเปิดเผยข้อมูล) โตยระบบตังกล่าวสามารถเก็บรักษาและเรียกดูข้อมูลตังกล่าว และบันทึกการนำเข้า แก้ไข และเปลี่ยนแปลงไว้อย่างน้อย 10 ปี
3. นโยบายและกระบวนการเปิดเผยข้อมูล (continuous disclosure)
บริษัทจดทะเบียนควรดำเนินการอย่างน้อย ตังนี้
กำหนดนโยบายและกระบวนการเปิดเผยข้อมูล เป็นลายลักษณ์อักษร โตยกำหนตให้ต้องเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้อง เพียงพอ และน่าเชื่อถือ ตามแนวทางในข้อ 2 ในเวลาที่เหมาะสม ก่อนที่จะเปิดเผยแก่นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ หรือบุคคลภายนอกกลุ่มอื่นใด รวมทั้งก่อนการเผยแพร่ข้อมูลในวงกว้างต่อผู้ลงทุนทั่วไปในช่องทางอื่นด้วย
มอบหมายผู้บริหารระดับสูง ให้มีหน้าที่
– ดูแลให้มั่นใจว่าบริษัทจดทะเบียนได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลในฐานะที่เป็นบริษัทจตทะเบียน และนโยบายการเปิดเผยข้อมูลที่เปิดเผยให้ผู้ลงทุนทราบส่วงหน้าเป็นการทั่วไป
– ดูแลให้มั่นใจว่ามีการตรวจสอบให้ข้อมูลที่เปิดผย ถูกต้อง เพียงพอ น่าเชื่อถือ ก่อนการเผยแพร่ และในกรณีเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกรรมการหรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (เช่น การเจรจาซื้อชายหุ้น การยืนยันความมีส่วนได้เสียในการทำรายการ) ควรให้กรรมการทุกคนตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ตนอาจมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย
– ติตตามดูแลและประสานงานในเรื่องการเปิดเผยข้อมูลกับตลาดหลักทรัพย์ฯ และผู้เกี่ยวข้องอื่น เช่น นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ผู้ถือหุ้น สื่อมวลชน และสาธารณชนทั่วไป
– ให้ความรู้แก่กรรมการและพนักงานของบริษัทจตทะเบียนเกี่ยวกับนโยบายและกระบวนการการเปิดผยข้อมูลชองบริษัท รวมทั้งสร้างความตระหนักในหลักสำคัญของนโยบายการเปิดเผยข้อมูลของบริษัท
มอบหมายกรรมการหรือพนักงานที่ทำหน้าที่เป็นโฆษก เพื่อจำกัดบุคคลที่จะเปิดเผยข้อมูลในนามของบริษัทจดทะเบียน โดยควรดำเนินการให้มั่นใจว่าบุคคลที่ได้รับมอบหมายสามารถอธิบายและให้ความกระจ่างเกี่ยวกับข้อมูลที่บริษัทเปิดเผยตามแนวทางในข้อ 2 และหลีกเสี่ยงการให้ความเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับประเต็นที่อาจมีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ ซึ่งมีไต้ผ่านการตรวจสอบความถูกต้อง เหมาะสม จากบริษัทก่อน
การซักซ้อมก่อนเปิดเผย ผู้บริหารระดับสูงที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบเรื่องการเปิดเผยข้อมูลควรทราบถึงข้อมูลที่จะเปิดเผยก่อนล่วงหน้า เพื่อลดความเสี่ยงในการฝ้าฝืนข้อกำหนดเกี่ยวกับการเปิดเผยซ้อมูลทั้งนี้ ให้ปฏิบัติตาม “แนวปฏิบัติไนการจัดการข้อมูลลับที่มีผลต่อราคาหลักทรัพย์” และควรชักซ้อมรวมทั้งสรุปข้อมูลที่จำเป็นให้แก่ผู้ปฏิบัติหน้าที่โฆษก ก่อนที่บุคคลตังกล่าวจะให้ข้อมูลแก่บุคคลภายนอก ทั้งนี้ เพื่อมีให้เกิดการเปิดเผยข้อมูลคลาดเคลื่อน หรือข้อมูลภายในโตยมีได้ตั้งใจ
4. การพิจารณา "ข้อมูลภายใน"
โดยทั่วไป ข้อมูลภายในที่ห้ามมีให้เปิดผยแก่บุคคลใด (เว้นแต่เป็นกรณีจำเป็นที่บริษัทจตทะเบียนต้องเปิดผยข้อมูลแก่ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง) ก่อนเปิดเผยแก่ผู้ลงทุนทั่วไป หมายถึง ข้อมูลที่ยังมีได้มีการเปิดเผยต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ซึ่งเป็นสาระสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงราคาหรือมูลค่าชองหลักทรัพย์ ซึ่งได้แก่ข้อมูลของบริษัทหรือบุคคลวงในที่น่าจะมีนัยสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงราคา หรือมูลค่าของหลักทรัพย์ หรือการตัดสินใจลงทุน ข้อมูลตังกล่าว รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทจตทะเบียน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอำนาจควบคุม หรือผู้บริหารสำคัญของบริษัทจดทะเบียน และเป็นข้อมูลที่มีความชัดเจนพอสมควรที่ผู้ลงทุนทั่วไปน่จะใช้ประกอบการตัตสินใจลงทุน
อย่างไรก็ดี มิใช่ว่าข้อมูลที่มีนัยสำคัญที่ยังมีได้เปิดเผยตามแนวทางในข้อ 2 ทั้งหมด จะถือเป็นข้อมูลภายใน เนื่องจากในบางกรณี ข้อมูลที่จัดว่ามีนัยสำคัญที่ยังมีได้เปิดเผย อาจมีได้มีผลต่อราคาหรือการตัดสินใจของผู้ลงทุน เช่น บุคคลทั่วไปคาดการณ์ต้จากข้อมูลที่เปิดผยไว้ก่อนหน้า หรือข้อมูลที่อาจมีผลกระทบการตัดสินใจลงทุนมีใช่ข้อมูลจากแหล่งภายในบริษัท แต่เกิดจากปัจจัยภายนอกบริษัท เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพตลาด อุตสาหกรรม เป็นต้น
การพิจารณานัยสำคัญของข้อมูสไม่อาจกำหนดเป็นระตับตัวเลขหรือสัดส่วนที่แน่นอนเพื่อใช้สำหรับทุกกรณี โดยนัยสำคัญตังกล่าวขึ้นอยู่กับผลกระทบหรือความสำคัญของข้อมูล โตยมีปัจจัยหลายประการที่ต้องนำมาพิจารณาประกอบต้วย เช่น ขนาตบริษัทจดทะเบียน พัฒนาการของเรื่อง ความน่เชื่อถือของข้อมูล สภาพตลาด (market sentiment) ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทหรือหมวดอุตสาหกรรมนั้น เป็นต้น รวมทั้งโอกาสที่ผู้ลงทุนน่าจะใช้ข้อมูลดังกล่าวซึ่งโดยทั่วไปข้อมูลที่มีผลกระทบในเรื่องตังต่อไปนี้ มักจะมีผลต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุน
– ทรัพย์สิน หนี้สิน สภาพคล่อง ฐานะการเงินของบริษัทจดทะเบียน
– ผลการดำเนินงาน หรือการคาดการณ์ผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน (เช่น earnings preview ประมาณการรายได้ ค่าใช้จ่าย)
– การดำเนินธุรกิจของบริษัทจตทะเบียน
– พัฒนาการหรือโครงการลงทุนในอนาคต
– การเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอำนาจควบคุม หรือผู้บริหารสำคัญ
– ความถูกต้องหรือความเป็นปัจจุบันของข้อมูลที่ได้เปิดเผยไปก่อนหน้า
– เรื่องที่อยู่ระหว่างการเจรจา หรือการเปิดเผยอาจกระทบต่อผลการเจรจา
– เรื่องที่ต้องได้รับอนุมัติจากองค์กรหรือบุคคลอื่น และการเปิดเผยในระหว่างการขออนุมัติอาจส่งผลกระทบในลักษณะที่อาจทำให้ผู้ลงทุนเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
การรักษาความลับของข้อมูลภายในที่ยังไม่เปิดเผย
ในระหว่างที่ยังไม่สามารถหรือยังมีได้เปิดเผยข้อมูลภายใน บริษัทจดทะเบียนมีหน้าที่ดูแล จัดการรักษาความลับของข้อมูลตังกล่าว เพื่อป้องกันมีให้ผู้ใดนำไปแสวงหาประโยชน์ หรือเปิดเผยโดยมิชอบ โดยบริษัทจดทะเบียนควรปฏิบัติตาม “แนวปฏิบัติในการจัดการข้อมูลลับที่มีผลต่อราคาหลักทรัพย์”
การเปิดเผยข้อมูลกรณีมีความเสี่ยงที่ข้อมูลจะรั่วไหล
ในกรณีเกิดสถานการณ์ที่ทำให้บริษัทจดทะเบียนประเมินต้ว่า มีความเสี่ยงที่ข้อมูลภายในจะเกิดการรั่วไหลก่อนที่จะสามารถยืนยันข้อเท็จจริงและผลกระทบที่เกี่ยวข้องได้ บริษัทจดทะเบียนควรดำเนินการเปิดเผยข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสถานการณ์นั้น โดยมีข้อมูลตังนี้
(1) รายละเอียดของเรื่องเท่าที่จะสามารถระบุได้
(2) อธิบายเหตุผลที่ยังไม่สามารถให้ข้อเท็จจริงที่ครบถ้วน
(3) แสดงความผูกพันของบริษัทจตทะเบียนที่จะเปิดเผยรายละเอียดชองข้อมูลในโอกาสแรกที่กระทำได้
กรณีจำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลแก่ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง
ในกรณีจำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลภายในแก่ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องซึ่งมีบทบาทในการดำเนินการที่จำเป็นให้แก่บริษัทจตทะเบียน เช่น ที่ปรึกษากฎหมายที่ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาการทำธุรกรรม หรือสถาบันการจัดอันดับความนำเชื่อถือ (CRA) เป็นต้น โดยที่ยังมีได้เปิดเผยข้อมูลนั้นตามแนวทางในข้อ 2 บริษัทจดทะเบียนต้องดำเนินการให้มั่นใจว่า ผู้รับข้อมูลทราบถึงหน้าที่และมีระบบในการรักษาความลับของข้อมูล เพื่อป้องกันการนำข้อมูลนั้นไปใช้ หรือเปิดเผยต่อบุคคลอื่น โดยบริษัทจตทะเบียนควรดำเนินการตาม “แนวปฏิบัติในการจัดการข้อมูลลับที่มีผลต่อราคาหลักทรัพย์”
การดำเนินการกรณีเกิดข่าวลือ ข้อมูลรั่วไหล และ/หรือมีการเปิดเผยโดยมิได้ตั้งใจ
(1) บริษัทจตทะเบียนควรจัดให้มีกระบวนการรับมือกับกรณีที่เกิดข่าวลือ การรั่วไหลของข้อมูล และการเปิดผยข้อมูลโตยมีได้ตั้งใจ หากข่าวลือหรือข้อมูลที่มีการรั่วไหลหรือถูกเปิดเผยไปโดยมีไต้ตั้งใจ เป็นข้อมูลภายในบริษัทจตทะเบียนต้องชี้แจงหรือเปิดเผยตามแนวทางในช้อ 2 อย่างไรก็ดี แม้ว่ากรณีดังกล่าวจะไมใช่ประเด็นเกี่ยวกับข้อมูลภายใน บริษัทจตทะเบียนควรเปิดผยข้อมูลตังกล่าวผ่านเว็บไชค์เพื่อให้ผู้ลงทุนทราบด้วย
(2) บริษัทจตทะเบียนควรมีกระบวนการทบทวนภายหลังจากการให้ข้อมูลแก่บุคคลเฉพาะกลุ่มเพื่อสอบทนว่ามีการให้ข้อมูลภายในโตยมีด้ตั้งใจหรือไม่ เช่น กรณีบริษัทจดทะเบียนมีการพบผู้ลงทุนในการจัดกิจกรรม opportunity day ในช่วงเวลาหลังการประกาศงบการเงินรายไตรมาส และมีการตอบคำถามโดยเป็ดเผยข้อมูลภายใน เป็นต้น และหากกิตกรณีตังกล่าว เพื่อเป็นการบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิตขึ้นจากการที่บริษัทจดทะเบียน มีการเปีดผยข้อมูลภายในให้แก่บุคคลเฉพาะกลุ่ม ให้บริษัทจตทะเบียนเปิดเผยข้อมูลตามแนวทางในข้อ 2 โดยทันที
6. การเปิดเผยข้อมูลแก่บุคคลเฉพาะกลุ่ม
สำนักงานสนับสนุนให้บริษัทจตทะเบียนสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ลงทุนและผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นเช่น นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ผ่านช่องทางต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อทั้งบริษัทจตทะเบียนและบุคคลเหล่านั้น ขณะเดียวกัน การดำเนินการตังกล่าวต้องอยู่บนหลักการที่บริษัทจดทะเบียนต้องเปิดเผยข้อมูลที่มีนัยสำคัญต่อการตัดสินใจลงทุนอย่างเท่าเทียมกัน ทั้งในต้านเนื้อหา และระยะเวลา โดยบริษัทจดทะเบียนควรปฏิบัติตังนี้
การจัดเตรียมข้อมูล
บริษัทจดทะเบียนควรจัดเตรียมข้อมูลที่จะใช้ในการพบปะบุคคลเฉพาะกลุ่มไว้ล่วงหน้า โดยมีการตรวจสอบแล้วว่า ข้อมูลที่จะใช้นั้นไม่มีข้อมูลภายใน หากมีข้อมูลภายในที่ยังไม่ได้เปิดเผย บริษัทจดทะเบียนควรพิจารณาความเหมาะสมตามกระบวนการว่า จะเปิดเผยข้อมูลนั้นตามแนวทางในข้อ 2 ก่อนการพบปะบุคคลเฉพาะกลุ่ม หรือเก็บรักษาเป็นข้อมูลลับต่อไป เพราะการเปิดเผยข้อมูลที่เร็วเกินไปในระหว่างที่ยังมีความไม่แน่นอนสูงอาจทำให้ผู้ลงทุนสำคัญผิดได้
การเปิดเผยข้อมูลภายในแก่บุคคลเฉพาะกลุ่ม
(1) บริษัทจตทะเบียนจะเปิดเผยข้อมูลภายในแก่บุคคลเฉพาะกลุ่มไม่ได้ อย่างไรก็ดีหากมีการเปิดเผยข้อมูลภายในแก่บุคคลเฉพาะกลุ่ม บริษัทจตทะเบียนต้องแจ้งให้ผู้ที่ใต้รับข้อมูลนั้นทราบถึงหน้าที่ในการรักษาความลับของข้อมูลจนกว่าจะมีการเปิดผยด้วย รวมทั้งเปิดผยข้อมูลตังกล่าวตามแนวทางในข้อ 2 ทันทีนอกจากนี้ ควรปฏิบัติตาม “แนวปฏิบัติในการจัดการข้อมูลลับที่มีผลต่อราคาหลักทรัพย์” เช่น ควรเก็บรักษารายชื่อบุคคลวงในที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมที่อาจมีผลกระทบต่อราคาซื้อขายหลักทรัพย์ และยังไมได้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวตามแนวทางในข้อ 2
(2) บริษัทจดทะเบียนต้องใช้ความระมัตระวังอย่างยิ่งในการตอบคำถามที่อยู่นอกกรอบการนำเสนอข้อมูลที่กำหนดไว้ โดยใช้แนวทางตังนี้
– ให้เฉพาะข้อมูลที่ได้เปิดเผยตามแนวทางในข้อ 2 และตอบคำถามจากข้อมูลดังกล่าวเท่านั้น
– หากมีคำถามที่ทำให้บริษัทจดทะเบียนต้องตอบโตยเป็นข้อมูลภายใน บริษัทจะต้องไม่ตอบ คำถามนั้น แต่อาจจดประเต็นคำถามดังกล่าวไว้ และหากบริษัทจดทะเบียนพิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อมูลภายในตามคำถามดังกล่าวอยู่ในวิสัยที่เปิดเผยไต้หรือเห็นว่าเป็นประโยชน์และประสงค์จะตอบคำถามนั้น ให้บริษัทจดทะเบียนเปิดเผยข้อมูลตามแนวทางในข้อ 2 เพื่อให้สาธารณชนทั่วไปก่อน
(3) การให้ความเห็นต่อการประมาณการทางการเงินของนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ให้จำกัดเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับความคลาดเคสื่อนของข้อเท็จจริงและสมมติฐานเท่านั้น เช่น ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข้อมูลอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปซึ่งมีที่มาชัตเจน เป็นต้น และหลีกเสี่ยงการตอบคำถามที่อาจชี้นำว่าประมาณการของบริษัทจดทะเบียน หรือของตลาดไม่ถูกต้อง นอกจากนี้ ในการบริหารจัดการเกี่ยวกับการคาดการณ์รายได้ (earnings expectations) ให้ใช้ข้อมูลที่มีการเปิดเผยอย่างต่อเนื่อง เพื่อระบุว่ารายได้ที่คาดการณ์น่าจะอยู่ในช่วงใด และหากมีการเปลี่ยนแปลงการคาดการณ์รายด้ จะต้องเปิดเผยตามแนวทางในข้อ 2 ก่อนที่จะให้ข้อมูลแก่บุคคลภายนอก
7. แนวปฏิบัติเพิ่มเติม
เพื่อสนับสนุนให้บริษัทจตทะเบียนมีระบบในการบริหารจัดการข้อมูลภายในที่มีประสิทธิภาพช่วยลดความเสี่ยงในเรื่องการรั่วไหลหรือการใช้ข้อมูลในทางมิชอบ สำนักงานได้จัดทำ “แนวปฏิบัติในการจัดการข้อมูลลับที่มีผลต่อราคาหลักทรัพย์” โดยนำสาระสำคัญมาจาก ‘Handling confidential, market-sensitive information: Principles of sood practice” ที่จัตทำโตย Governance Institute of Australia และ Australian Investor Relations Association (AIRA) ภายใต้ความเห็นชอบของ Governance Institute of Australia ซึ่งสามารถ download ได้จาก http://www.sec.or.th/TH/BaisingFunds/EquityDebt/Documents/handline confidentiaLlinfo.pdf นอกจากนี้ บริษัทจดทะเบียนควรเน้นย้ำให้ผู้ที่อาจล่วงรู้ข้อมูลภายใน ได้แก่ กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ปฏิบัติตาม ข้อกำหนดของบริษัทจดทะเบียนในเรื่องการห้ามนำข้อมูลงบการเงินหรือซ้อมูลอื่นที่มีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ ของบริษัทที่ทราบ ไปใช้ซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายส่วงหน้าที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์ หรือเปิดเผยแก่บุคคลภายนอก หรือผู้ที่มีได้เกี่ยวข้อง ก่อนที่ข้อมูลงบการเงินหรือข้อมูลอื่นที่มีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ของบริษัพ/กลุ่มบริษัทจะเผยแพร่ ต่อสาธารณชน ซึ่งระยะเวลาการห้ามซื้อขายหรือเปิดเผยข้อมูลอาจมีระยะเวลาเกินกว่า 1 เตือนก่อนที่ข้อมูลตังกล่าว จะมีการเผยแพร่ต่อสาธารณชนก็ได้ ทั้งนี้ จะต้องไม่ซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อชายล่วงหน้าที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์ ของบริษัทจดทะเบียนจนกว่าจะพ้นระยะเวลา 24 ชั่วโมงนับแต่ไต้มีการเปิดเผยข้อมูลนั้นสู่สาธารณะแล้ว
ภาคผนวก[1]
มาตรา 242 แห่งพ.ร.บ. หลักทรัพย์ บัญญัติว่า “ห้ามมิให้บุคคลใดซึ่งรู้หรือครอบครองข้อมูลภายในที่เกี่ยวกับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ กระทำการดังต่อไปนี้
(1) ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ หรือเข้าผูกพันตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์ ไม่ว่าเพื่อตนเองหรือบุคคลอื่น เว้นแต่
(ก) เป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย คำสั่งศาล หรือคำสั่งของหน่วยงานที่มีอำนาจตามกฎหมาย
(ข) เป็นการปฏิบัติตามภาระผูกพันตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ทำขึ้นก่อนที่ตนจะรู้หรือครอบครองข้อมูลภายในที่เกี่ยวกับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
(ค) เป็นการกระทำโดยตนมิได้เป็นผู้รู้เห็นหรือตัดสินใจ แต่ได้มอบหมายให้ผู้ได้รับอนุญาตหรือจดทะเบียนตามกฎหมายให้จัดการเงินทุนหรือการลงทุน ตัดสินใจในการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ หรือเข้าผูกพันตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์นั้น หรือ
(ง) เป็นการกระทำในลักษณะที่มิได้เป็นการเอาเปรียบบุคคลอื่นหรือในลักษณะตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด
(2) เปิดเผยข้อมูลภายในแก่บุคคลอื่นไม่ว่าโดยตรงหรือทางอ้อมและไม่ว่าด้วยวิธีใด โดยรู้หรือควรรู้ว่าผู้รับข้อมูลนั้นไปใช้ประโยชน์ในการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ หรือเข้าผูกพันตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์ ไม่ว่าเพื่อตนเองหรือบุคคลอื่น เว้นแต่เป็นการกระทำในลักษณะที่มิได้เป็นการเอาเปรียบบุคคลอื่นหรือในลักษณะตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด”